8 มีนาคม 2566 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – กลับมาเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่สมการรอคอยพร้อมฉลองครบรอบ 30 ปีของการจัดงาน VIV Asia (วิฟ เอเชีย) งานแสดงนวัตกรรม เทคโนโลยี และสัมมนาสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์น้ำครบวงจร สำหรับภูมิภาคเอเชีย ตั้งแต่อาหารสัตว์จนถึงอาหารเพื่อการบริโภค จัดพร้อมกันกับ Meat Pro Asia (มีท โปร เอเชีย) งานแสดงเทคโนโลยีและสินค้าเพื่อการเจรจาธุรกิจสำหรับกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ อาหาร และบรรจุภัณฑ์ครบวงจร ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 8-10 มีนาคม 2566 เวลา 10:00-18:00 น. โดย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนราพัฒน์ แก้วทอง พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติจาก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เอกอัครราชทูตประจำประเทศบราซิล สเปน ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม พร้อมด้วยพันธมิตรการจัดงานจากสมาคมต่างๆ ร่วมเปิดงาน
“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการออกยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปีซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติ ครอบคลุมปี พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยเกี่ยวกับอนาคตของการทำฟาร์มอัจฉริยะในราชอาณาจักร วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางการเงิน การเกษตรที่มั่งคั่ง และเน้นการจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ดังกล่าวซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ต่อทุนของเกษตรกรไทยเป็นประมาณ 13,000 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 590 ภายใน 20 ปี” นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว “ภาคการเกษตรของไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตที่ชาญฉลาด เทคโนโลยีการเกษตรที่นำมาใช้ในปัจจุบันบางอย่างที่สามารถเห็นได้ในฟาร์มของไทย ได้แก่ โดรนสำหรับการเกษตรแม่นยำ เรือนกระจกอัจฉริยะ การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นการเกษตรและปศุสัตว์ และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกมากให้เรียนรู้จากเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าระดับโลกอย่างงาน VIV Asia และ Meat Pro Asia ที่รวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผู้ผลิตมากกว่า 1,300 บริษัท จาก 62 ประเทศทั่วโลกมาจัดแสดงให้เราชมกันในครั้งนี้”
“ในเรื่องของความไม่มั่นคงทางอาหารทั่วโลกและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เราทุกคนต้องตระหนักและร่วมมือกันแก้ปัญหาอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งนั้นมาจากภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ทำให้งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์น้ำมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อทั้งภาคธุรกิจและความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนบนโลกในเวลานี้” นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าว “งานแสดงสินค้ามีส่วนสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ และงานเหล่านี้สําคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งทีเส็บเล็งเห็นถึงความสำคัญเสมอมาและพร้อมสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยเสมอ”
นางสาวปนัดดา ก๋งม้า ผู้อำนวยการสายงานเกษตร-ปศุสัตว์ และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน VIV Asia อย่างต่อเนื่อง ถึงจะไม่ได้จัดงานในประเทศไทย แต่เราก็ได้จัดงานในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น VIV MEA ที่อาบูดาบี VIV Europe ที่เมืองอูเทร็คท์ เนเธอแลนด์ ILDEX Vietnam ที่โฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม และ ILDEX Indonesia ที่จาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรวมรวมสุดยอดผู้นำในวงการปศุสัตว์แต่ละภูมิภาคให้มาในงาน VIV Asia โดยในงานครบรอบ 30 ปีนี้ เรามีผู้ประกอบการมากกว่า 1,300 บริษัทชั้นนำจาก 62 ประเทศทั่วโลกมานำเสนอนวัตกรรมสุดไฮไทคสำหรับภาคธุรกิจเกษตร-ปศุสัตว์ครอบคลุมธุรกิจทั้งห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ซึ่งจากผลการลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าในปีนี้สูงกว่าการจัดงานทุกครั้งที่ผ่านมา โดยเน้นกลุ่มจากต่างประเทศเช่นเคย แต่ในปีนี้ผู้จัดงาน ก็คาดหวังให้คนไทยมาเข้าร่วมงานมากขึ้น เพื่อยกระดับวงการปศุศัตว์ของเรา”
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ www.vivasia.nl และ www.meatpro-asia.com นำอีเมล์ยืนยันการลงทะเบียนมาสแกนเพื่อรับบัตรเข้างานได้ทันทีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับงานประชุมสัมมนามากกว่า 100 หัวข้อสามารถดูตารางสัมมนาได้ที่เว็บไซต์ของงาน พิเศษสำหรับผู้เข้าชมงานชาวไทย ทางผู้จัดมีบริการ Guided Tour การเยี่ยมชมงานแบบบริการนำทัวร์โดยผู้เชี่ยวชาญพร้อมหูฟังแปลภาษาเพื่อลดปัญหาด้านการสื่อสารทางภาษา และการให้บริการรถรับส่งฟรี สำหรับผู้เข้าร่วมงาน จาก BTS หมอชิต และ MRT บางกระสอ สู่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10:00-18:00 น. จัดโดย กลุ่มบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชันส์ ร่วมกับ บริษัท เมสเซ่ แฟรงก์เฟิร์ต
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ ฝ่ายสื่อสารการตลาด อีเมล communications@vnuexhibitionsap.com หรือโทร. 02-1116611 ต่อ 330-335 (วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค)